ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกวิชาภาษาไทย

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

 


ทุกข์ของชาวนา
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เรื่อง  มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533  ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ รอบ  โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  รุ่นที่ 41  พระราชนิพนธ์นั้นแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและจีนที่กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนาซึ่งมีสภาพชีวิตที่ไม่แตกต่างกันนัก   อ่านต่อ

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ไฟล์:มังคลัตถทีปนีแปล.jpg

มงคลสูตร 

 เป็นพระสูตรหรือหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่เหล่าเทวดา ที่มาทูลถามพระพุทธเจ้าเพื่อตอบข้อสงสัยของมนุษย์และเทวดา
โดยพระสูตรบทนี้ถือว่าเป็นพระสูตรสำคัญบทหนึ่ง ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพราะมีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธ มงคลภายนอก ที่นับถือเหตุการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นมงคลหรือมีมงคล โดยอธิบายว่าในทัศนะพระพุทธศาสนานั้น มงคลของมนุษย์และเทวดาย่อมเกิดจากการกระทำอันได้แก่ มงคลภายใน คือต้องกระทำความดี และความดีนั้นจะเป็นสิ่งที่เรียกว่ามงคลเองโดยไม่ต้องไปอ้อนวอนกราบไหว้ขอมงคลจากนอกตัว
เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาในพระสูตรแล้ว ก็ได้แสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาปฏิเสธมงคลภายนอกโดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นจุดเด่นในพระพุทธศาสนา   อ่านต่อ

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556


ตัวชี้วัด ท 31102 ภาษาไทย


ตัวชี้วัด

๑. อ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรองให้ถูกต้อง และเหมาะสม

๒. ตีความแปลความและขยายความที่อ่าน

๓. วิเคราะห์วิจารณาเรื่องที่อ่าน

๔. ประเมินค่าเรื่องที่อ่านและนำมาใช้ในชีวิตจริง

๕. แสดงความคิดเห็น โต้แย้ง และแสดงความคิดเห็นใหม่เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน

๖. ตอบคำถามเรื่องที่อ่าน

๗. มีมารยาทในการอ่าน

๘. เขียนสื่อสารได้ถูกต้อง ตามรูปแบบและใช้ภาษาได้ถูกต้อง

๙. เขียนเรียงความได้

๑๐. เขียนย่อความได้

๑๑. ประเมินงานเขียนของผู้อื่นและนำมาพัฒนางานเขียนของตน

๑๒. ผลิตงานเขียนของตนเอง ในรูปแบบต่างๆ

๑๓. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการ และใช้ข้อมูลสารสนเทศอ้างอิงได้ถูกต้อง

๑๔. บันทึกการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำไปพัฒนาตนเองได้

๑๕. มีมารยาทในการเขียน

๑๖. ประเมินเรื่องที่ฟังและดูแล้วนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง

๑๗. มีวิจารณาญาณในที่เลือกและดู

๑๘. มีมารยาทในการฟังและการดูและการพูด

๑๙. พูดในโอกาสต่างๆ

๒๐. แต่งบทร้อยกรองได้ถูกต้องและเหมาะสม

๒๑. วิเคราะห์ทัศนะของภาษาต่างประเทศได้

๒๒. อธิบายวิเคราะห์หลักการสร้างคำในภาษาไทยได้

๒๓. วิเคราห์ประเมินการใช้ สิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

๒๔. วิเคาระห์วิจารณาวรรณคดีวรรณกรรมหลักตามวิจารญาณเบื้องต้นได้

๒๕. วิเคาระห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีเชื่อมโยงการเรียนรู้ต่อประวัติศาสตร์

๒๖. ประเมินคุณค่าด้านวัฒนธรรมได้

๒๗. สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีวรรณกรรมและนำไปประยุกต์ใช้จริงได้

๒๘. ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานที่มีคุณค่าและนำไปใช้อ้างอิงได้